วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คลายความสงสัยเรื่อง ข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชน และใบขับขี่ ต่างและเหมือนกันอย่างไร


       
Smart Card คืออะไร ? เครื่องอ่านบัตรประชาชน คืออะไร?
 ซื้อที่ไหน? รุ่นไหนดี ? ใช้โปรแกรมอะไรดี?
จะอ่านบัตรประชาชนใช้อ่ะไร ?


                    อุต๊ะ ๆ แค่คิดผู้หญิงอย่างเราก็ ถึงขั้นปวดหัวเลยทีเดียวเจ้าค่าาาา เรื่องของข้อมูลที่จะได้จากการอ่านบัตรประชาชน แบบสมาร์ทการ์ด และใบขับขี่ ที่หลาย ๆ คนอาจจะยังมีคำถามที่ไม่มั่นใจ คาใจ ไม่เข้าใจ ดิฉันจะขอเสนอตัวที่จะช่วยทำให้ ผ่อนคลาย และคลายข้อสังสัยอย่างง่ายๆ เลยค่ะ


บัตรแถบแม่เหล็ก บัตรใบขับขี่


นำใบขับขี่ไปอ่านที่เครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชน ได้ไหม?
ไม่ได้ถ้าเครื่องอ่านอ่านบัตรแบบ สมาร์ทการ์ด เท่านั้น เช่นรุ่น sure691 เพราะเครื่องอ่านบัตรใบอนุญาตขับรถ นั้นใช้เทคโนโลยี่ แถบแม่เหล็ก แต่จะมีเครื่องอ่านบัตรบางรุ่นที่อ่านได้ ที่สองอย่าง อ่านทั้งสมาร์ทการ์ดและใบขับขี่ เช่นรุ่น SURE-2IN1 READER

บัตรใบขับขี่มีภาพที่หน้าบัตร อ่านข้อมูลจากบัตรจะได้ภาพด้วยไหม?
ไม่ได้เนื่องจาก แถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลได้น้อย มีเพียง แค่ชื่อ นามสกุล และเลขที่

เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก ใบขับขี่
ถึงภาพจากใบขับขี่ได้ไหม ?
ถึงภาพจากข้อมูลในบัตรไม่ได้ แต่ถ้าถ่ายภาพบัตรใบขับขี่ด้วยกล้องก็จะสามารถบันทึกภาพบัตรใบขับขี่ได้ค่ะ ก็จะได้ภาพแต่เป็นภาพบัตรทั้งใบและรายละเอียดอาจจะไม่ชัดเจนแบบต้นฉบับ นั้นเป็นไปได้ยากค่ะ

บัตรประชาชนใช้เครื่องอะไรอ่าน ?
เครื่องอ่านบัตรประชาชน เราเรียกว่าบัตร สมาร์ทการ์ด ลักษณะบัตรจะคล้าย บัตรพลาสติกแข็งทั่วไปแต่จะมี ชิปสี่เหลี่ยมสีทอง อยู่ทางด้านขวาของบัตร ซึ่งเป็น IC ประเทภหนึ่งที่ทำหน้าที่บันทึก และแสดงข้อมูลที่ได้มีการบันทึกไว้ผ่าน การติดต่อสื่อสารทางด้านอิเล็กทรนิกส์

Smart Card คืออะไร ?
สมาร์ทการ์ด คืออะไร จริงๆ  แล้ว สมาร์ทการ์ด น่าจะแปลว่าบัตรที่ฉลาด อ่ะครับ เราคงเคยได้ยินคำว่าบัตรอัจฉริยะ อะไรทำนองนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรื่องมันมีอยู่ว่า ย้อนไปสัก 40 ปีเห็นจะได้ สมัยนั้นบัตรที่เรานิยมใช้และแพร่หลายมากที่สุดคือบัตรแถบแม่เหล็ก ถูกนำไปใช้เกี่ยวกับเรื่องทางด้านการเงินที่นิยมจนถึงทุกวันนี้ก็คือ ATM อ่ะค่ะ เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้ และราคาถูก อ่านได้ง่าย แต่เนื่องด้วยมันก็ง่ายต่อการปลอมแปลง และแน่นอนล่ะค่ะ ก็ต้องมีคนคิดว่าเอะเราจะทำยังไงดีนะ ถึงจะแก้ไขปัญหาเรื่องแบบนี้ได้ และแล้วเค้าก็คุยกันว่าถ้าเรามีบัตร(Card) ที่มันฉลาด ๆ สักใบนะ เอาล่ะค่ะคำว่า ฉลาด (Smart) มาแหละ ที่แบบว่าถ้าจะอ่านข้อมูล ก็ต้องใส่รัหสก่อน และข้อมูลก็ต้องเข้ารหัสเอาแบบว่า ไม่มีวันถอดกันได้เลย ใส่ผิด 10 ครั้งลบข้อมูลไปเลย ไม่ก็ปิดไปเลย และถ้ามันทำได้เราก็น่าจะเรียกมันว่า Smart Card มันจึงไปตกอยู่ที่เทคโนโลยี เซมิคอนดักเตอร์ หรือพวกคอมพิวเตอร์ล่ะคะ เพราะว่า มันจะต้องมีขนาดเล็ก กินไฟน้อย ราคาถูก ทำได้ปริมาณมาก ๆ และที่สำคัญต้องโต้ตอบ สื่อสาร ได้ก็หนี้ไม่พ้น Memory (EEPROM เก็บข้อมูลได้นานและลบด้วยไฟฟ้าได้ง่าย) และ Micro-controller ล่ะค่ะงานนี้ ซึ่งมันก็เกิดขึ้นเมื่อปีคศ 1968 และ 1969 ที่สองคนนี้ค่ะ Helmut Gröttrup and Jürgen Dethloff (อ่านไม่ออกเหมือนกัน) เป็นผู้ไปจดสิทธิบัตรค่ะ

นี้เลยโครงสร้างภายในของเจ้าทอง ๆ แหละค่ะ

             สงสัยจะแยะไปหรือเปล่าค่ะ สรุปง่าย ๆ ค่ะคือบัตรที่มีหน่วยความจำและหน่วยประมวลผล ที่คอยป้องกันการอ่านข้อมูล ขั้นเทพ ค่ะ แต่มันก็จะมีข้อเสียเล็กน้อยค่ะ คือมันจะต้องมีการสัมผัสกับเครื่องอ่าน และมันก็เลยต้องเคลือบหน้าสัมผัสด้วยทองค่ะ และมันก็อาจจะเสียได้ถ้าได้รับกระแสไฟฟ้าเกินหรือต่อผิดพลาดค่ะ แบบนี้เราเรียกว่าสมาร์ทคาร์ดแบบสัมผัส (Contact Smart Card)   ก็มีคนคิดต่อค่ะ ทำแบบไม่ต้องสัมผัสได้ป่ะหล่ะ จะได้ไม่เสีย ง่าย  ๆ สะดวกใช้งาน โดยใช้เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มาทำงานค่ะ เราเรียกแบบนี้ว่า สมาร์ทคาร์ดแบบไร้สัมผัส (Contactless Smart Card)

Smart Card Reader ซื้อที่ไหนดี 
หนูแนะนำที่นี้ค่ะ อยากเจอหนูก็ซื้อที่นี้ค่ะ   
     










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น